ประวัติวัด

นามราชการ วัดช่องลม นามเดิม วัดช่องลม เลขที่วัด เลขที่  ๓๓  ถนน พระราม  ๓ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร                                                                                    

  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เริ่มสร้างวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๕  เป็นช่วงกลางสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และได้รับพระราชทานวิสุงคาคามสีมา เมื่อ พ. ศ. ๒๔๕๒ เนื้อที่ของวัดมีจำนวน ๔ ไร่  ๑ งาน
๓๖ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๕๕๓๑ อาณาเขตวัดช่องลมมีเนื้อที่วัดจัดแบ่งเป็นพุทธวาส
(ส่วนวิสุงคามสีมา) และเขตสังฆาวาส (ส่วนภิกษุสงฆ์พักอาศัย) บนเนื้อที่ ๔ ไร่ ๑ งาน ๓๖ตารางวา
 
  
วัดช่องลมตามสถานะเดิมแต่อดีตนั้นมีมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ไม่ปรากฏปี พ.ศ.ที่สร้างวัดที่ตั้ง เดิมอยู่ ณ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงน้ำคตเคี้ยว (ท้องคุ้งน้ำ) ลักษณะเป็นวัดที่รมรื่นและได้รับความร่มเย็นจากสายลมริมฝั่งแม่น้ำตลอดเวลาดังกล่าว(จึงเป็นเหตุให้เกิดการตั้งชื่อว่าวัดช่องลม)แต่บัดนั้นเป็นต้นมา

จากนั้นต่อมาเมื่อบ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามยุคสมัยเป็นลำดับ ส่วนทางราชการเฉพาะการรถไฟแห่งประเทศไทยเกิดความจำเป็นต้องใช้เนื้อที่ของวัดทำท่าเรือน้ำลึก และทำเป็นคลังเก็บครุภัณฑ์ที่บรรทุกสินค้ามาจากทางเรือเดินทะเล(ซึ่งสถานที่ของวัดมีความเหมาะสมต่อการทำท่าเรือฉะนั้นทางการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้ทำการแลกเปลี่ยนที่ดินของวัดกับที่ดินของทางการรถไฟแห่งประเทศไทย)  หลังจากตกลงแลกเปลี่ยนที่ดังกล่าวแล้ว ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้สร้างวัดให้ในที่ดินของตนที่มอบแลกเปลี่ยนให้แก่ทางวัด ในปี พ.ศ.๒๔๕๒ ปัจจุบันนี้ปีพ.ศ ๒๕๕๕อายุวัดช่องลมที่สร้างใหม่นับได้ ๑๐๓ ปี กำหนดอายุของวัดปัจจุบัน ปัจจุบันวัดช่องเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองสมบูรณ์ด้วย

สัปปายะ ๔ มี
 
๑, บุคคลสัปปายะ  บุคคลเป็นที่สบาย กล่างคือผู้ปกครองวัดเป็นพระเถระผู้ประกอบไปด้วยคุณธรรมเจริญด้วยสัมมาทิฏฐิ (มีพรหมวิหาร ๔ เป็นหลัก) ในการปกคลองพูดง่ายๆว่าเหมือนพ่อปกครองลูกเอาใจใส่ดูแลพระสงฆ์ที่อยู่ในอาวาสให้การอบรมธรรมวินัย ตลอดจนถึงการศึกษา อย่างสม่ำเสมอให้ความเสมอภาค ไม่มีอคติ
 

๒,เสนาสนะสัปปายะ  ที่พักอาศัยเป็นที่สบาย กล่าวคือวัดช่องลมที่มีความพร้อมด้วยเสนาสนะสงฆ์และถาวรวัตถุในวัดครบสมบูรณ์ จัดเป็นวัดที่มีความเจริญ รุ่งเรือง สะอาดตา สบายใจ พร้อมเป็นที่พักอาศัย เป็นที่ประกอบกิจพระศาสนาทั้งของภิกษุสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนชาวพุทธบริษัทได้อาศัยความสะดวกในด้านต่างๆอย่างครบครัน
 

๓, อาหารสัปปายะ อาหารขบเคี้ยวเป็นที่สบายต่อภิกษุสงฆ์ตลอดจนศิษย์วัด หรือบุคคลทั่วไป จัดเป็นสถานที่อุดมมงคล เหมาะต่อการอยู่การกิน เพื่อบำเพ็ญศิล ปฏิบัติธรรม เจริญจิตภาวนาอย่างยิ่ง กล่าวคือการเที่ยวโคจรภิกขาจารของภิกษุสงฆ์ไม่ลำบาก (เที่ยวบิณฑบาต) รอบบริเวณวัดทั้ง ๔ ห้อมล้อมไปด้วยหมู่พุทธบริษัทมาตักบาตรทำบุญทำบุญที่วัดสม่ำเสมอ ฉะนั้น ปัญหาเรื่องการขบเคี้ยวเลื้ยงชีพอันพอสมควรต่อสมณสารูปของภิกษุสงฆ์จึงอุดมเพียงพอ
  

๔, ธัมมสัปปายะ ธรรมะเป็นที่สบาย กล่าวคือวัดช่องลมเป็นวัดที่จัดให้มีการศึกษาปริยัติธรรมตามลำดับชั้นของพระพุทธศาสนา และถือปฏิบัติตามกฏของมหาเถรสมาคม องค์การปกครองส่วนรวมของคณะสงฆ์แห่งประเทศไทยอย่างถูกต้องผู้ปกครอง (สมภาร) มีปฏิปทาส่งเสริมการศึกษาธรรมและปฏิบัติต่อภิกษุสงฆ์ภายในวัด
ตลอดจนอุบาสกอุบาสิกาและประชาชนอนุชนอย่างทั่วถึง ตลอดถดูกาลการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเน้นให้ภิกษุสงฆ์หลักปฏิบัติเจริญจิตภาวนาเป็นแกนหลัก จึงกล่าวได้ว่าวัดช่องลมเป็นสถานที่เจริญรุ่งเรืองทั้งทางถาวรวัตถุและสัมมาปฏิบัติและการศึกษาอย่างดีเยี่ยม
  

สรุป, นอกเหนือจากนี้แล้วทางวัดยังถือเอาใจใส่ต่อประชาชนส่วนรวมของประเทศ (อาทิ) คราวใดเกิดอุทกภัย หรือ วาตภัย อัคคีภัยทางวัดได้มีส่วนร่วมบริจาคทรัพย์สิน ข้าวสาร อาหารแห้ง เพื่อบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนผูประสพภัยต่อคราวนั้นๆโดนบริจาคผ่านองค์กรการกุศลนั้นๆเสมอนี้ชี้ให้เห็นว่าวัดช่องลมเป็นวัดที่สมบูรณ์ด้วยการพัฒนาแล้วทุกด้าน

1 ความคิดเห็น: